ก๊าซไนโตรเจน ช่วยเพิ่มอายุอาหาร ไม่ให้อาหารเหม็นหืน สี-รส-กลิ่นเปลี่ยนได้

การเพิ่ม ก๊าซไนโตรเจน หรือก๊าซเฉื่อย ในอาหารถือเป็นวิธีการถนอมอาหารที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันเพราะ ก๊าซไนโตรเจน เป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้ อาหารของคุณคงความอร่อย และคุณภาพอาหารไว้ในรสชาติเดิมได้ แถมยังช่วยเพิ่มอายุของอาหาร ให้เก็บรักษาได้นานกว่าปกติ 30% และ อาหารประเภทถั่ว ได้นานกว่าปกติถึง 2 เท่า ซึ่งการเพิ่มก๊าซไนโตรเจนนี้ มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่สามารถช่วยรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และความสดใหม่ได้นานขึ้น จึงเหมาะสมแก่การลงทุนเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาที่จะตามมาในภายหลังได้

และความพิเศษของก๊าซไนโตรเจน ที่มีต่ออาหารก็คือสามารถใช้ไล่ความชื้น ไล่อากาศ ไล่ออกซิเจน ในภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ได้ เพื่อไม่ให้ออกซิเจนคงค้างภายในไปทำปฏิกริยากับอาหารที่มีส่วนประกอบ ของน้ำมันหรือไขมัน ที่จะทำให้อาหารเกิดการเหม็นหืน เกิดการเปลี่ยนแปลงของสี กลิ่นและรสของอาหาร

ดังนั้นการใช้ก๊าซไนโตรเจน จะช่วยกำจัดก๊าซออกซิเจนในอากาศที่ล้อมรอบอาหารออกไป ทำให้อาหาร เครื่องดื่ม หรือของขบเคี้ยวที่ทำจากวัตถุดิบธรรมชาติ ไม่เกิดการเปลี่ยนรูปลักษณ์ สี และรสชาติ รวมถึงคงความสดใหม่ได้ยาวนานขึ้น นอกจากนั้นยังรักษาคุณค่าของสารอาหารไม่ให้สูญสลาย ถือเป็นการสร้างคุณค่า และรักษามูลค่าของสินค้าให้นานขึ้นอีกด้วย

Image of packaged cucumber with woman hand in the supermarket

ประโยชน์ของการใช้ ก๊าซไนโตรเจน

  • ก๊าซไนโตรเจน ช่วยเพิ่มอายุการเก็บรักษา ชะลอ หรือป้องกันการเสื่อมเสียคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารได้
  • ก๊าซไนโตรเจน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส และไม่เป็นพิษ จึงสามารถใช้ได้กับผลิตภัณฑ์อาหารทุกชนิด
  • ก๊าซไนโตรเจน ช่วยลดปริมาณการใช้วัตถุเจือปนอาหาร
  • ก๊าซไนโตรเจน ไม่ก่อให้เกิดการระเบิด และปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม
  • ก๊าซไนโตรเจน ละลายในน้ำและไขมันได้น้อยมาก จึงสามารถพ่นก๊าซไนโตรเจนผ่านเข้าไปยังวัตถุดิบ หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลว เช่น น้ำมัน
  • ก๊าซไนโตรเจน จะเข้าไปห่อหุ้มโมเลกุลของน้ำมัน ทำให้ช่วยลดการเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน และการเหม็นหืนได้
  • ก๊าซไนโตรเจน สามารถยืดอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ได้นานยิ่งขึ้น
  • ก๊าซไนโตรเจน ช่วยป้องกันไม่ให้ สีอาหาร รสชาติอาหาร และกลิ่นอาหารเปลี่ยนได้
  • ก๊าซไนโตรเจน ช่วยป้องกันการเกิดความเสียหายที่อาจเกิดภายในผลิตภัณฑ์ เช่น การแตกหักของชิ้นมันฝรั่งทอด

ขอบคุณข้อมูลจาก :
packingdd.com
ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top