อันตรายจากการทำงานในที่อับอากาศ

ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่มักได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจาก
การทำงานในที่อับอากาศ ซึ่งมีหลายสาเหตุที่ทำให้การทำงานในที่
อับอากาศอันตรายกว่าการทำงานทั่วไป โดยที่การจำกัดความเสี่ยง
ของอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ควรมีการประเมินความเสี่ยงและเตรียม
เครื่องมือการตรวจสอบก่อนเข้าไปในที่อับอากาศ รวมทั้งควรศึกษา
ถึงข้อบังคับในการทำงานในที่อับอากาศอีกด้วย

หากตรวจสอบแล้วพบว่ายังไม่สามารถทำให้ที่อับอากาศ
ปลอดภัยได้ ผู้ปฏิบัติงานไม่ควรเข้าไปในพื้นที่จนกว่าจะมั่นใจว่า
สถานที่นั้นปลอดภัย

ที่อับอากาศ

หมายถึง ที่ซึ่งมีทางเข้า-ออกจำกัด และมีการระบาย
อากาศไม่เพียงพอ ที่จะทำให้อากาศภายในอยู่ในสภาพถูก
สุขลักษณะและปลอดภัย เช่น อุโมงค์ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้อง
นิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา ภาชนะหรือสิ่งอื่นที่มี
ลักษณะคล้ายกัน

บรรยากาศอันตราย

หมายความว่า สภาพอากาศที่อาจทำให้
ลูกจ้างได้รับอันตรายจากสภาวะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
• มี O2 ต่ำกว่า 19.5% หรือ มากกว่า 23.5% โดยปริมาตร
• มีก๊าซ ไอ ละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ เกิน 10% ของ LEL
• มีฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นเท่ากับหรือ
มากกว่าค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดใน
อากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้(LEL)
• มีค่าความเข้มข้นของสารเคมี (Toxic Gas) แต่ละชนิดเกิน
มาตรฐานที่กำหนดตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนด
มาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย
อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย

อันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ในสถานที่อับอากาศ

• อันตรายจากการขาดอากาศหายใจ

ผู้ปฏิบัติงานอาจได้รับ
ออกซิเจนไม่เพียงพอต่อการหายใจ และอาจจะได้รับแก๊สพิษซึ่ง
อยู่ในบรรยากาศที่จำกัดนี้ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานอาจป่วยหรือสูญ
เสียการรับรู้ได้ ซึ่งการระบายอากาศโดยธรรมชาติอย่างเดียวมัก
จะไม่เพียงพอที่จะรักษาคุณภาพของอากาศภายในสถานที่อับ
อากาศได้

• อันตรายจากสารเคมี

เมื่อสารเคมีซึมเข้าสู่ร่ายกายหรือการ
สัมผัสโดนสารเคมี จะมีผลเช่นเดียวกับการสูดดมแก๊สพิษเข้าสู่
ร่างกาย

• อันตรายจากไฟไหม้

อาจเกิดการระเบิดหรือติดไฟในชั้น
บรรยากาศ โดยมีสาเหตุจาก ของเหลวและสารไวไฟ หรือฝุ่นที่
ติดไฟได้ซึ่งหากเกิดจุดประกายจะทำให้เกิดระเบิดหรือไฟไหม้ได้

• อันตรายอื่นๆ

-อันตรายที่เกิดจากเสียง
-อันตรายจากความปลอดภัย เช่น การเคลื่อนย้ายของอุปกรณ์
อันตรายของโครงสร้าง สิ่งกีดขวาง
– การลื่น และการตก เป็นต้น
-อันตรายที่เกิดจากรังสี
-อันตรายจากอุณหภูมิสูง ต่ำ ร้อนไป หรือเย็นไป เป็นต้น
– การไถลหรือพังทลายของกลุ่มวัสดุ
– การผิดพลาดของสิ่งกีดขวางทางน้ำหรือหน้าดิน ก่อให้เกิดน้ำ
ท่วมหรือการทลายลงจากของแข็ง
– พลังงานที่ไม่อาจควบคุมได้รวมทั้งการเกิดไฟฟ้าช๊อต
-อันตรายที่มีผลต่อการมองเห็น เช่น แสงจากงานเชื่อม หรือแสง
ที่น้อยเกินไป
-อันตรายทางชีวภาพ เช่น แบคทีเรีย ไวรัส หรือเชื้อโรคต่างๆ

คำจำกัดความ

ความหมาย

LEL

Lower ExplosiveLimit – %LEL

ขีดจำกัดล่างของการติดไฟ

PPM

Part Per Million – toxic gas measurement

ส่วนในล้านส่วนใช้วัดปริมาณสารพิษ

TWA

Time Weighted Average–8hr/day – ACGIH

ค่าปริมาณที่ปลอดภัยของสารเคมีที่ได้รับเฉลี่ย 8 ชั่วโมงการทำงาน

STEL

ShortTerm ExposureLimit

ค่าปริมาณที่ปลอดภัยของสารเคมี หลังจากได้รับในระยะเวลา15 นาที

IDLH

Immediately Dangerous to
Life and Health 30 mins –
NIOSH

ปริมาณสารเคมีที่ทำให้สัตว์ทดลองเสียชีวิตทันที หลังจากได้รับในระยะเวลา 30 นาที

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top