Nitrogen Generator สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการใช้ก๊าซไนโตรเจนเหลว 70 % และการใช้จากหลอดบรรจุไนโตรเจน 90 %

     เครื่องผลิตก๊าซไนโตรเจนสำหรับงานอุตสาหกรรม ซึ่งให้ความประหยัดและปลอดภัยกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้ก๊าซไนโตรเจนเหลวและหลอดบรรจุไนโตรเจนแบบสำเร็จรูป

ในอากาศทั่วไปจะประกอบไปด้วยก๊าซไนโตรเจนอยู่ประมาณ 78% มนุษย์จึงนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆกัน เพราะก๊าซไนโตรเจนมีคุณสมบัติเป็นก๊าซเฉื่อย ไม่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยาต่างๆ ดังนั้น ก๊าซไนโตรเจนจึงนิยมใช้เป็นก๊าซปกคลุม ป้องกันการทำปฏิกิริยาของสารเคมีกับอากาศ (การเกิดออกซิเดชั่น) ทำให้ชิ้นงานไม่เกิดสนิม เช่น งานอุตสาหกรรมเหล็ก อะลูมิเนียม โลหะ อิเล็กทรอนิกส์ ปิโตรเคมี ยานยนต์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังเป็นก๊าซที่นิยมใช้กันมากที่สุดในอุตสาหกรรมอาหาร เพราะว่าเป็นก๊าซที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ละลายในน้ำและไขมันได้น้อยมาก จึงทำให้ลดการปฏิกิริยาออกซิเดชั่น และการเหม็นหืนของไขมันและน้ำมันในอาหาร จึงเหมาะกับการใช้ในการถนอมอาหาร เช่น การบรรจุอาหารจำพวกมันฝรั่งทอด และขนมขบเคี้ยวต่างๆ หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลว เช่นน้ำมันพืชเป็นต้นซึ่งช่วยให้ผู้ผลิตสามารถยืดอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์ได้นานยิ่งขึ้น

ข้อเปรียบเทียบ

     ข้อได้เปรียบของการผลิตก๊าซไนโตรเจนไว้ใช้เองจากเครื่องผลิตก๊าซไนโตรเจน เมื่อเทียบกับการใช้จากถังบรรจุไนโตรเจนสำเร็จรูป เช่น ไนโตรเจนเหลว (Bulk liquid) หรือหลอดบรรจุไนโตรเจน (Nitrogen cylinder) มีดังต่อไปนี้
1. เครื่องผลิตก๊าซไนโตรเจน ให้ความประหยัดกว่าการใช้ก๊าซไนโตรเจนเหลว 70 % และประหยัดกว่าการใช้จากหลอดบรรจุไนโตรเจน 90 %
2. เครื่องผลิตก๊าซไนโตรเจนมีความปลอดภัยมากกว่า เพราะใช้แรงดันต่ำกว่า เมื่อเทียบกับหลอดบรรจุไนโตรเจน โดยเครื่องผลิตก๊าซไนโตรเจนใช้ความดันในการผลิตจากปั๊มลมถึงตัวเครื่องเพียง 6-10 bar ในขณะที่หลอดบรรจุไนโตรเจน จะมีความดันสูงประมาณ 125-250 bar เมื่อเทียบกับการใช้ไนโตรเจนเหลวซึ่งถ้าหากเกิดการรั่วไหลขึ้น ก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้งานได้ เนื่องจากไนโตรเจนเหลวนั้น มีอุณหภูมิต่ำประมาณ–196 °C
3. การใช้เครื่องผลิตก๊าซไนโตรเจนทำให้ไม่ต้องทำสัญญาซื้อไนโตรเจนสำเร็จรูปจากผู้ขาย ซึ่งมีข้อผูกมัดต่างๆทั้งเงื่อนไขการขนส่ง ปริมาณการสั่งซื้อแต่ละครั้ง การชำระเงิน ฯลฯ ในขณะที่การผลิตไนโตรเจนใช้เองมีความสะดวกและผลิตได้ตามเวลาที่ต้องการ

การนำไปใช้งาน

อุตสาหกรรมที่สามารถนำเครื่องผลิตก๊าซไนโตรเจนไปใช้งาน เช่น
– อุตสาหกรรมเคมี
– อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
– การตัดด้วยเลเซอร์
– กระบวนการและบรรจุภัณฑ์อาหาร
– การเติมลมยางล้อรถยนต์
– อุตสาหกรรมพลาสติก (ฉีดแม่พิมพ์)
– การผลิตยา
– Heat Treatment

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Scroll to Top