• + (66) 617818855
    info@intersol-engtech.com

  • 77/55 Moo3, Pakkred
    Nonthaburi, 11120, THA.

  • HOME
  • PRODUCTS
    • BAUER
      • Breathing Air/ Sports
      • INDUSTRY
      • FUEL GAS SYSTEMS (FGS)
      • GAS INJECTION TECHNOLOGY
    • WITT
      • Gas Mixers
      • Gas Analyser
      • Package Leak Detectors
      • AMBIENT AIR MONITORING
      • Pressure Regulators and Outlet Points
      • GAS SAFETY EQUIPMENT
    • HAM-LET
      • FITTINGS
      • PROCESS VALVES
      • HPA – PNEUMATIC ACTUATORS
      • MANIFOLDS
      • FILTERS & VEP
    • GCE
      • Industrial
      • Medical
      • High Purity
  • SERVICES
  • PROJECT REFERENCE
  • Article
  • Contact Us
  • Career
  • ภาษาไทย

Reverse Flow / Back Fire / Flashback 3 ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในงานเชื่อม-ตัดด้วยก๊าซ

    30/10/2019

    Reverse Flow / Back Fire / Flashback 3 ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในงานเชื่อม-ตัดด้วยก๊าซ

    REVERSE FLOW

    • Reverse Flow เกิดขึ้นได้เมื่อความดันของก๊าซเชื้อเพลิงสูง กว่าก๊าซออกซิเจน เช่นกรณีที่ก๊าซออกซิเจนในถังใกล้หมด ซึ่ง อาจทำให้ก๊าซเชื้อเพลิงไหลเข้าไปผสมกับก๊าซออกซิเจนในสาย ท่อก๊าซ วาล์วปรับความดันและถังก๊าซออกซิเจน ซึ่งอาจเกิด Backfire/Flashback ได้

    • ในบางกรณีที่ถังออกซิเจนเต็มแต่มีก๊าซเชื้อเพลิง ปนอยู่ในวาล์ว ปรับความดันออกซิเจนความร้อนที่เกิดจากออกซิเจนความดัน สูงวิ่งเข้าไปใปวาล์วปรับความดันออกซิเจนก็สามารถทำให้เกิด การระเบิดได้

    • ในกรณีที่ถังก๊าซเชื้อเพลิงและถังก๊าซออกซิเจนเต็ม ทั้งคู่ปกติแล้วก๊าซออกซิเจนจะมีความดันสูงกว่า ก๊าซเชื้อเพลิง การที่ปลายหัวเชื่อม-ตัดอุดตัน หรือ เข้าใกล้ชิ้นงานมากเกินไป อาจทำให้ก๊าซออกซิเจน ไหลเข้าไปในด้านของก๊าซเชื้อเพลิงแล้วเกิด Backfire/Flashback ได้

    BACKFIRE

    • คือปรากฏการณที่ไฟย้อนกลับเข้าไปที่หัวเชื่อมแล้วเกิดเสียงดังขึ้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นเมื่อนำหัวเชื่อม-ตัดเข้าใกล้ชิ้นงานมากเกินไปหรือปลายหัวเชื่อมตัดเกิดการอุดตัน เปลวไฟ อาจดับไปหรือติดขึ้นมาอีกครั้งที่หัวเชื่อม-ตัด ในบางครั้งเปลวไฟอาจย้อนกลับเข้าไปใน หัวเชื่อมและเกิดการเผาไหม้ต่อเนื่องบริเวณจุดที่ก๊าซทั้งสองมาผสมกัน ปกติแล้ว Backfire จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง แต่แสดงถึงความบกพร่องของอุปกรณ์ หรือวิธีการทำางาน

    FLASHBACK

    • คือปรากฎการณ์ที่เปลวไฟย้อนกลับจากหัวเชื่อม-ตัดเข้าไปในสายท่อก๊าซเชื้อเพลิง ผ่านอุปกรณ์ปรับความดันไปยังถังบรรจุก๊าซเชื้อเพลิง ขณะเดียวกันออกซิเจนจะไหล ตามเข้าไปโดยแรงปฎิกริยาที่เกิดขึ้นจากการลุกไหม้อย่างต่อเนื่อง (Sustain Combustion) หรือ อีกนัยหนึ่ง คือ เปลวไฟย้อนกลับจากหัวเชื่อม-ตัดเข้าไปในสาย ท่อก๊าซออกซิเจนผ่านอุปกรณ์ปรับความดันไปยังถังบรรจุออกซิเจน ขณะเดียวกันก๊าซ เชื้อเพลิงจะไหลตามเข้าไปด้วยแรงปฎิกริยาที่เกิดขึ้นจากการลุกไหม้อย่างต่อเนื่อง (Sustain Combustion) การเกิด Flashback อาจก่อให้เกิดความเสียหายขั้นร้ายแรง เช่น การระเบิดอย่างรุนแรง การบาดเจ็บ จนถึงขั้นเสียชีวิต

    • ความเร็วของไฟ (Flame Velocity) ขณะเกิด Flashback จะเร็ว มาก Flame Velocity อาจสูงถึง 2 เท่าของความเร็วของเสียง หรือประมาณ 2,000 ฟุต/วินาที หรือ 1,400 ไมล์/ชั่วโมง

    • โดยทั่วไป Flashback มักจะเกิดขขึ้นเมื่อมีการเกิด Reverse Flow ซึ่งหมายถึงการที่ก๊าซเชื้อเพลิงไหลย้อนเข้าไปในด้านที่เป็นก๊าซ ออกซิเจน หรือ ก๊าซออกซิเจนไหลย้อนเข้าไปในด้านที่เป็นก๊าซ เชื้อเพลิง

    ปรากฏการณ์ไฟย้อนกลับ (Flashback) อาจทำให้เกิดการเกิดไฟลุกไหม้หรือ ระเบิดที่อุปกรณ์ขณะทำการเชื่อมแก๊ส เช่น

    • การระเบิดที่ Torch

    • การระเบิดของสายแก๊สหรือสายออกซิเจน (Hoses) ที่ต่อระหว่าง Torch กับ Regulator

    • การระเบิดที่ Regulators

    • ที่รุนแรงที่สุดคือ การระเบิดที่ถังออกซิเจนหรือถังแก๊สเชื้อเพลิง

     

    สาเหตุทั่วไปที่ส่งผลทำให้เกิด Flashback

    • การเริ่มและเลิกใช้งานอุปกรณ์เชื่อม-ตัดที่ไม่ถูกต้อง

    • สายท่อก๊าซที่ขดงอหรือถูกทับระหว่างการเชื่อม-ตัด

    • ใช้ขนาดสายท่อก๊าซไม่ถูกต้อง

    • สายท่อก๊าซยาวเกินไปทำให้สูญเสียความดัน

    • หัวเชื่อม/ตัดและสายท่อก๊าซชำรุดเสียหาย

    • เปลวไฟใกล้ชิ้นงานเกินไป

    • เศษโลหะร้อนถูกเผาและเข้าไปในอุดตันหัวเชื่อม-ตัด

    • การเลือกอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งาน

    • ปรับความดันก๊าซไม่ถูกต้อง

    • ก๊าซในถังมีความดันไม่เพียงพอต่อการใช้งาน

    • ฯลฯ

    • Twitter
    • Facebook
    • Google+
    • LinkedIn

    ใส่ความเห็น ยกเลิกการตอบ

    อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

    Search


    intersol-eng.com นั้นภูมิใจนำเสนอโดย WordPress