เกลียว (Thread) หมายถึงสันหรือร่องที่เกิดขึ้นบนผิวงานวนไปรอบ ๆจะซ้ายหรือขวาก็ได้ ด้วยระยะทางที่สม่ำเสมอ
เกลียวแบ่งได้ออกเป็น 5 ชนิด
- เกลียวสามเหลี่ยม
1.1 เกลียวเมตริก (M-Thread)
1.2 เกลียว ISO
1.3 เกลียววิตเวอร์ต
1.4 เกลียวอเมริกัน
1.5 เกลียวยูนิไฟด์
1.6 เกลียวสามเหลี่ยมยอดแหลม
- เกลียวสี่เหลี่ยม
- เกลียวสี่เหลี่ยมคาวหมู
3.1 เกลียวTr
3.2 เกลียวAeme
3.3 เกลียวหนอน
- เกลียกลม
- เกลียวฟันเลื่อย
ส่วนต่างๆของเกลียว
เกลียวแบ่งตามลักษณะหน้าตัดได้หลายแบบซึ่งแต่ละแบบก็มีลักษณะการใช้งานทั้งแบบที่เหมือนกันและแตกต่างกันไปแบ่งออกได้ดังนี้

Major Diameter คือความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางโตนอกของชิ้นงานทั้งของเกลียวนอกและเกลียวในหรือคือขนาดกำหนดนั่นเอง
Minor Diameter คือความยาวเส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่โคนเกลียวทั้งของเกลียวนอกและเกลียวใน
Pitch Diameter คือความยาวเส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่วงกลมพิตช์
Pitch คือระยะห่างระหว่างตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งไปยังตำแหน่งเดียวกันของเกลียวถัดไปเช่นวัดจากยอดเกลียวถึงยอดเกลียว
Angle of Thread หรือ Included Angle มุมรวมยอดเกลียว
Helix Angle มุมเอียงของฟันเกลียว
Crest คือยอดฟันเกลียว
Root คือโคนเกลียว
Axis of Screw แกนของสลักเกลียว
Depth of Thread ความลึกของเกลียววัดจากยอดเกลียวถึงโคนเกลียว
Number of Thread จำนวนเกลียวต่อนิ้ว
1. เกลียวสามเหลี่ยม
เกลียวสามเหลี่ยมคือเกลียวที่มีพื้นที่หน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมมีทั้งเกลียวที่เป็นระบบเมตริกและเกลียวระบบอังกฤษ

ส่วนต่างๆที่สำคัญของเกลียวสามเหลี่ยม
- ยาวเส้นผ่าศูนย์กลางโตนอก(d, D)
- ของเกลียว(P)
- ความยาวเส้นผ่าศูนย์กลางโคนเกลียว(d1 , D1)
- ความยาวเส้นผ่าศูนย์กลางที่วงกลมพิตช์(d2 , D2)
- ความลึกเกลียว(t1)
- รัศมีโค้งที่ท้องเกลียว( R )
- ขนาดรูเจาะเพื่อทำเกลียว(TDS)
1.1 เกลียวเมตริกธรรมดาคือเกลียวที่มีมุมรวมยอดเกลียว 60 องศาแตกต่างจากเกลียวเมตริก ISO ตรง
สูตรการคำนวณบางค่าแตกต่างกันเช่นสูตรหาค่าความลึก

ตัวอย่างที่1 ก. ตองการกลึงเกลียว M 14× 2 จงคำนวณหาค่าต่างๆ

ตัวอย่างที่1 ข. ต้องการกลึงเกลียว M 14 × 1.5 จงคำนวณหาค่าต่างๆจากตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างเกลียวละเอียด

หมายเหตุ: เกลียวเมตริกละเอียดใช้สูตรการคำนวณเหมือนกันต่างกันตรงระยะพิตช์น้อยกว่า
1.2 เกลียวเมตริก ISO คือเกลียวที่มีมุมรวมยอดเกลียว 60 องศาเป็นเกลียวสามเหลี่ยมที่เป็นมาตรฐานสากลของระบบเมตริกสูตรในการคำนวณแตกต่างจากเกลียวเมตริกธรรมดาและการบอกสัญลักษณ์ของเกลียวที่มีระยะพิตช์มาตรฐานอาจจะไม่บอกระยะพิตช์มาให้แต่ถ้าเป็นเกลียวละเอียดหรือเกลียวพิเศษจะบอกระยะพิตช์มาให้ระยะพิตช์ดูได้จากตารางที่ 1


1.3 เกลียววิตเวอร์ตคือเกลียวระบบอังกฤษที่คิดค้นขึ้นโดย Mr. Joseph Whitworth เป็นชาวอังกฤษเป็นเกลียวที่มีมุมมนโค้งทั้งยอดเกลียวและโคนเกลียวมีมุมรวมยอดเกลียว 55 องศาบอกเกลียวเป็นจำนวนเกลียวต่อนิ้วการใช้สัญลักษณ์จะบอกด้วยความยาวเส้นผ่าศูนย์กลางโตนอกของเกลียวเป็นนิ้วและตามด้วยจำนวนเกลียวต่อนิ้วและอักษรตัวย่อดังต่อไปนี้
- BSW = (British Standard Whitworth) หมายถึงเกลียววิตเวอร์ตชนิดหยาบ
- BSF = ( British Standard Fine ) หมายถึงเกลียววิตเวอร์ตชนิดละเอียด

1.4 เกลียวอเมริกัน (American National Thread) คือเกลียวสามเหลี่ยมที่ใช้หน่วยเป็นนิ้วเหมือนเกลียววิตเวอร์ตแต่มีรูปร่างแตกต่างกันตรงมีมุมรวมยอดเกลียว 60 องศาบอกเป็นจำนวนเกลียวต่อนิ้วสัญลักษณ์ในการบอกจะขึ้นด้วยขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางโตนอกมีหน่วยเป็นนิ้วตามด้วยจำนวนเกลียวต่อนิ้วและตามด้วยอักษรตัวย่อดังต่อไปนี้
- NC (National Coarse Thread Series) หมายถึงเกลียวอเมริกันชนิดเกลียวหยาบ
- NF (National Fine Thread ) หมายถึงเกลียวอเมริกันชนิดละเอียด
- NEF ( National Extra – Fine Thread Series ) หมายถึงเกลียวอเมริกันชนิดพิเศษที่ผลิตมาใช้งานเฉพาะอย่างมีจำนวนเกลียวต่อนิ้วที่แตกต่างจากสองชนิดแรกเมื่อเทียบกับขนาดของเกลียวที่โตเท่ากัน
1.5 เกลียวยูนิไฟด์ (Unified Thread ) คือเกลียวสามเหลี่ยมที่ใช้หน่วยเป็นนิ้วเป็นเกลียวที่ดัดแปลงมาจากเกลียวอเมริกันแต่มาทำให้เป็นมาตราฐานสากลของระบบเกลียวสามเหลี่ยมระบบอังกฤษจึงเรียกว่าเกลียว ISO Inch มีมุมรวมยอดเกลียว 60 องศาบอกเป็นจำนวนเกลียวต่อนิ้วแต่แตกต่างจากเกลียวอเมริกันตรงสูตรการคำนวณเช่นความลึกเกลียวสัญญาลักษณ์ในการบอกจะขึ้นต้นด้วยความยาวเส้นผ่านศูนย์กลางโตนอกมีหน่วยเป็นนิ้วและตามด้วยจำนวนเกลียวต่อนิ้วและตามด้วยอักษรตัวย่อดังนี้
- UNC ( Unified National Coarse Thread Series ) หมายถึงเกลียวยูนิไฟด์ชนิดหยาบ
- UNF ( Unified National Fine Thread Series ) หมายถึงเกลียวยูนิไฟด์ชนิดละเอียด
- UNEF ( Unified National Extra – Fine Thread Series ) หมายถึงเกลียวยูนิไฟด์ชนิดเกลียวพิเศษที่ผลิตมาใช้งานเฉพาะอย่างมีจำนวนเกลียวต่อนิ้วแตกต่างจากสองชนิดแรกเมื่อมีขนาดเกลียวโตนอกเท่ากันตัว
1.6เกลียวสามเหลี่ยมยอดแหลม ( Sharp V – Thread ) คือเกลียวสามเหลี่ยมที่นำมาใช้ในช่วงเริ่มแรกแต่ในปัจจุบันไม่นิยมใช้เพราะเป็นเกลียวยอดแหลมไม่มีการตัดยอดตัดโคนเกลียวหรือทำการโค้งมนเกลียวแต่อย่างใดเมื่อใช้งานไปยอดฟันจะหักแตกง่ายทำให้เศษที่หักไปติดในเกลียวทำให้การขันติดขัดเป็นเกลียวพื้นฐานที่เกลียวสามเหลี่ยมชนิดต่างๆนำไปดัดแปลงใช้เป็นเกลียวชนิดต่างๆไม่ว่าจะเป็นเกลียวในระบบเมตริกและระบบอังกฤษ

2. เกลียวสี่เหลี่ยมคางหมู
2.1 เกลียวสี่เหลี่ยมคางหมูเมตริก ( Tr ) คือมุมที่มีมุมรวมยอดเกลียว 30 องศาเป็นเกลียวที่เหมาะสำหรับใช้ในการส่งกำลังขับเคลื่อนเพราะมีความแข็งแรงกว่าเกลียวสามเหลี่ยมเช่นเกลียวปากกาจับงานและเกลียวเพลานำของเครื่องกลึง

2.2เกลียวสี่เหลี่ยมคางหมูอเมริกัน (Acme )คือเกลียวสี่เหลี่ยมคางหมูเหมือนเกลียวสี่เหลี่ยมคางหมูเมตริกมีมุมรวมยอดเกลียว 29 องศาลักษณะการใช้งานเหมือนกับเกลียวสี่เหลี่ยมคางหมูเมตริกมีการกำหนดขนาดเป็นนิ้วและบอกจำนวนเกลียวต่อนิ้วแทนระยะพิตช์ดังนั้นในการคำนวณถ้าต้องการหน่วยเป็นมิลลิเมตรจะต้องคูณด้วย 25.4 มม. จึงจะมีหน่วยเป็นมิลลิเมตร
3. เกลียวสี่เหลี่ยม( Square Thread )
คือเกลียวที่มีมุมเป็น 90 องศาและมีความแข็งแรงเหมาะสำหรับงานที่ต้องการส่งกำลังมากๆเช่นเกลียวของปากกาจับงาน
4. เกลียวฟันเลื่อย( Buttress Thread )
เหมาะสำหรับงานส่งกำลังที่ต้องการความปลอดภัยเคลื่อนที่ได้สะดวกในทิศทางเดียวอีกทางจะเคลื่อนที่ลงยากเป็นการป้องกันการรูดของเกลียวเหมาะสำหรับใช้ทำอุปกรณ์แม่แรงยกรถหรือของหนักเพราะปลอดภัยกว่าเกลียวชนิดอื่นๆมีมุมรวมยอดเกลียว 30 + 3 องศารวม 33 องศา

5. เกลียวกลม( Knuckle Thread )
คือเกลียวที่มีมุมรวม 30 องศายอดเกลียวและโคนเกลียวโค้งมนเป็นเกลียวในระบบอังกฤษมีการบอกเป็นจำนวนเกลียวต่อนิ้วปัจจุบันได้มีการกำหนดขนาดเป็นมิลลิเมตรแต่ระยะพิตช์เป็นนิ้วเหมาะสำหรับงานที่ต้องการการเคลื่อนที่ได้สะดวกเช่นเกลียวที่ขวดน้ำอัดลมเกลียวหลอดไฟฟ้าเป็นต้น

6. เกลียวหนอนบราวแอนด์ชาร์ป( Brown and Shape Worm Thread )
คือเกลียวหนอนที่ใช้เฟืองหนอนมีมุมยอดเกลียว 29 องศาต่างจากเกลียว Acme ตรงสูตรในการคำนวณ
Credit : moro.co.th